Last updated: 5 ก.ค. 2566 | 412 จำนวนผู้เข้าชม |
สายแคมป์.. สายเดินป่า.. ปกติแล้วเพื่อนๆ “ขน” หรือ “แบก” อะไรกันไปบ้าง ?
วันนี้ พวกเรามาทำ Check List ของจำเป็น และแนะนำอุปกรณ์ที่ พวกเรา มักไม่พลาดที่จะนำไปด้วยเสมอ เพื่อนๆ ลองมาดูกันนะครับ.. เยอะ หรือน้อย กว่าเราแค่ไหน... จะเป็น “สายแบก” เหมือนกันเราหรือเปล่า..
อุปกรณ์กางเต็นท์ ไปกางเต้นท์ เตรียมอะไรบ้าง หากอยากออกท่องเที่ยวแนวผจญภัย
การออกไป "กางเต็นท์" เป็นกิจกรรมท่องเที่ยวแนวผจญภัย ที่สามารถใกล้ชิดกับธรรมชาติ มองเห็นวิวทิวทัศน์สวยๆ ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ และได้มุมมองถ่ายภาพที่แปลกใหม่
ซึ่งเสน่ห์ของการได้ออกไปกางเต็นท์คือ การได้หยุดอยู่กับตัวเอง ใช้เวลาได้คุ้มค่า
แต่..อย่าลืมเตรียมพกกล้องถ่ายรูป และอุปกรณ์กางเต็นท์ ที่รองรับความสนุกในทริปไปพร้อมๆ กัน ซึ่งอุปกรณ์กางเต็นท์ที่จำเป็น ประกอบด้วยเครื่องนอน, อุปกรณ์ให้แสงสว่าง และอุปกรณ์ประกอบอาหาร เป็นต้น
ปัจจุบันการออกไปแคมป์นั้นสะดวกขึ้นนะ ไม่ว่าจะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ ก็เก็บอุปกรณ์กางเต็นท์ได้ครบ
งั้นตอนนี้ พวกเราขอแนะนำอุปกรณ์กางเต็นท์ ที่จำเป็น ที่พวกเรา “แบก” ไปด้วยเสมอเสมอ..ดังนี้
อุปกรณ์กางเต็นท์ และที่กำบังแดด
1. เต็นท์
อันดับแรกเลยที่นึกถึง คือ เต็นท์มีให้เลือกหลาย ทั้งเต็นท์ผ้าใบ เต็นท์แคนวาส และอื่นๆ การเลือกเต็นท์ต้องคำนึงถึงขนาด และการใช้สอย รวมถึงสภาพอากาศที่ต้องเผชิญ ทั้งลมและฝน ดังนั้นต้องเลือกที่แข็งแรง และยึดง่าย เลือกเต็นท์จากจำนวนสมาชิก เช่น เต็นท์นอน 2, 4 และ 6 คน
ตัวอย่างประเภทของเต็นท์ที่มีจำหน่าย ได้แก่ เต็นท์สปริง, เต็นท์โยน, เต็นท์กางออโต้ และ เต็นท์กางเร็ว มีราคาตั้งแต่หลักพันถึงหลักหมื่น
2. ผ้ายางปูรองเต็นท์ กราวนด์ชีต และฟลายชีต
มีไว้เพื่อปูปรับระดีบให้เท่ากัน จะใช้ปูนอน หรือ ปูนั่งเล่นก็ได้ ควรเลือกขนาดใหญ่ เพื่อเพื่อนๆที่เดินทางไปด้วยกัน จะได้มีที่นั่งคุย สนุกไปอีกแบบ
3. ที่นอนเป่าลม หรือเตียงผ้าใบ
บางที่ฤดูกาลมีฝนตกบ่อย ดินที่ใต้เต็นท์อาจมีความชื้น และน้ำซึมออกมาในตอนกลางคืน ที่เรานอนหลับ ชาวแคมป์จึงนิยมเตียงผ้าใบ หรือเตียงนอนเป่าลมที่ยกพื้นเตียงขึ้นมา สูงจากพื้นดินนิดนึง เพื่อให้นอนหลับสบายขึ้น
4. ชุดสมอบก หรือหมุดตอกเต็นท์
เวลาซื้อเต็นท์ เขาจะแถมอุปกรณ์พวกนี้อยู่แล้ว แต่เวลาเดินทาง เราอาจจะเจออุปสรรคมากมาย อุปกรณ์พวกนี้อาจจะชำรุดเสียหายระหว่างทางได้เราควรซื้อสำรองและเตรียมไปด้วย เพื่อความสบายใจ
5. ถุงนอน
ถุงนอนมีความจำเป็นกับการรักษาอุณหภูมิของร่างกายเมื่อนอนหลับ และควรเลือกที่สามารถให้ความอบอุ่นได้อย่างพอดี ปัจจุบันมีถุงนอนสำหรับออกแคมป์ที่ขนาดเล็กกะทัดรัดทำจากวัสดุที่พับเก็บง่ายให้เลือก
6. ตู้เก็บของพับได้
ในบางทริปเราจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เยอะมากๆ การที่เรามีตู้เก็บอุปกรณ์ ทำให้เราจัดการสิ่งของได้เป็นระเบียบ แถมยังป้องกันพวกแมลงได้อีกด้วย
7. โต๊ะปิกนิก
โต๊ะปิกนิกเป็นอุปกรณ์สำคัญ ใช้วางของและจัดโต๊ะอาหาร แต่ควรเลือกที่เหมาะสมกับน้ำหนักของที่วาง และมีข้อต่อที่แข็งแรง เลือกโต๊ะปิกนิกที่จัดเก็บทำความสะอาดง่าย
8. เก้าอี้พับ
เก้าอี้พับ เป็นอุปกรณ์ที่ควรรองรับน้ำหนักของผู้นั่งได้ และเก็บง่าย ไม่ควรเลือกที่น้ำหนักเบา กะทัดรัดเพียงอย่างเดียว แต่ควรดูคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ ต้องมีความแข็งแรงสูง
9. กระติกเก็บความเย็น
เอาไว้ใส่นำแข็งเพื่อแช่เครื่องดื่มไว้ปาร์ตี้เล็ก หรือเก็บรักษาเนื้อสัตว์สำหรับปรุงอากหาร
10. แก้วน้ำเก็บอุณหภูมิ
เมื่อต้องออกเดินทาง หากมีกระติกน้ำ ที่หมุนพร้อมดื่ม หรือมีแก้วพกพา เวลาดื่มน้ำจะได้สะดวกและเย็นชื่นใจ
11. เตาแก๊สปิกนิก
การออกแคมป์ การทำอาหารก็ถือเป็นกิจกรรมที่สนุก เราควรมีเตาแก๊สปิกนิกไว้ เพราะสะดวกเวลาเราจะทำต้ม ยำ ทอด ถ้าจะเอาตามทฤษฏี คือเอาแต่ฝนกิ่งไม้ คงไม่ได้กิน
12. จาน ชาม หม้อ และ กระทะปิกนิก
อุปกรณ์ประกอบอาหาร จำพวกหม้อ กระทะ เพื่อใช้สำหรับ ต้ม ผัด นั้นจำเป็นต่อชาวแคมป์ เพื่อใช้ปรุงอาหารให้สุก รวมถึง จาน ชาม ช้อน ส้อม แบบพกพาที่ควรพกไปด้วย
13. ไฟแช็กเดินป่า
ไฟแช็กเป็นสิ่งสำคัญ เป็นอุปกรณ์จุดไฟ ใช้สำหรับการตั้งแคมป์ เช่น การประกอบอาหาร และจุดไฟให้ความสว่าง ไฟแช็กเดินป่าแตกต่างจากไฟแช็กทั่วไปตรงที่จุดไฟได้เร็วกว่า และใช้งานได้นาน ยกตัวอย่างเช่น ไฟแช็กฟู่ เป็นอุปกรณ์แคมปิ้งยอดนิยม
14. เครื่องสูบลมไฟฟ้า
เอาไว้สูบลมให้อุปกรณ์เป่าลม เช่น ที่นอนลม เก้าอี้ เป็นต้น
15. ไฟฉายแรงสูง ตะเกียง หรือ โคมไฟ
เวลาเดินป่าบางครั้งเาก็ต้องเดินทางในที่มืด การมีไฟฉายติดตัวไว้ ทำให้เราเดินทางสะดวก และป้องกันเดินไปเหยียบสัตว์มีพิษด้วย
16. ถ่านไฟฉาย หรือ แบตเตอรี่สำรองไฟ
ปัจจุบันนี้มีอุปกรณ์เก็บไฟฟ้า สำหรับใช้งานชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ที่ชาร์จไฟด้วยสาย USB ได้สะดวก และหากพกไฟฉาย LED หรืออุปกรณ์ที่ต้องใส่ถ่านไฟฉาย ก็อย่าลืมเตรียมถ่านไฟฉายไว้ด้วย เพื่อป้องกันถ่านหมดระหว่างทาง
17. ยากันยุง
อุปกรณ์กันยุงและแมลง ควรใช้ยากันยุง แบบทาผิว และยากันยุงแบบจุด แต่ควรจุดให้ห่างไกลจากเต็นท์เพื่อป้องกันอัคคีภัย
18. ค้อนสนาม และ มีดสนาม
บางพื้นที่ที่เราเลือกกางเต็นท์ มีก้อนหิน หรือวัชพืช เป็นอุปสรรคต่อการตอกหมุดกางเต็นท์ ดังนั้นควรมีอุปกรณ์ที่ช่วยจัดการเคลียร์พื้นที่ เพื่อกางเต็นท์อย่าง ค้อนสนาม และ มีดสนาม ติดไปด้วย จะได้ช่วยทุ่นแรงในการกางเต็นท์ให้สะดวกยิ่งขึ้น
19. ยาสามัญ เช่น ยาหม่อง
เหตุการณ์ไม่คาดฝันอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ควรเตรียมอุปกรณ์ยาสามัญประจำบ้าน สำหรับพกพา เช่น แอลกอฮอล์, อุปกรณ์ล้างแผล, ยาหม่อง และ ยาแก้ปวดเพื่อปฐมพยาบาลกรณีฉุกเฉิน
สรุป อุปกรณ์ อื่นๆ ยังมีอีกเพียบ อยู่ที่สถานที่และเหตุการณ์ ที่แตกต่างออกไป เวลาเราจะเดินทางควรเตรียมความพร้อม ก่อนออกเดินทาง อุปกรณ์ต่างๆ บางครั้ง เราก็ไม่ต้องจัดเต็มแค่มี เต็นท์ หมอนที่นอน กับคนรู้ใจก็กลายเป็นการท่องเที่ยวแห่งความทรงจำแล้ว
อ้อ...เดี๋ยวนะครับ.. เราบอก 20 สิ่ง ที่เรานำไปออกแค้มป์ เดินป่าเสมอ เพื่อนอาจจะงงว่า เพิ่งพูดไป 19 อย่างเอง..อีกอย่างนึงของเราก้อคือ นี่เลย.... “กาแฟ” แน่ล่ะของเราเอง JourneyMan
ในรูปแบบของ Drip Bag Coffee เพื่อไม่ให้พลาดในเวลาที่เรา ตื่นมาชม “ทะเลหมอก” กับจิบอเมริกาโนร้อนๆ.. นี่แหล่ะ ชีวิตที่เราเลือก..
30 พ.ค. 2566
8 เม.ย 2567
3 ต.ค. 2566